วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พระพุทธศาสนา




พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "คนเราไม่ได้ดีหรือเลวเพราะวรรณะ แต่ดีหรือเลวเพราะการกระทำ ใครจะเกิดในตระกูลใด ยากดีมีจนอย่างไรไม่สำคัญ ถ้าตั้งอยู่ในศีลธรรมแล้ว ก็เชื่อว่าเป็นคนดีควรที่จะได้รับการยกย่องสรรเสริญ"บรรดาศาสนาสำคัญที่มีผู้นับมากในปัจจุบัน พระพุทธศาสนานับว่าเป็นศาสนาที่มีอายุเก่าแก่เป็น อันดับสองรองจากศาสนาพราหมณ์ที่ดำรงอยู่ในรูปศาสนาฮินดู พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลกเมื่อ ๔๕ ปีก่อน พุทธศักราช(พุทธศาสนาเริ่มนับ ๑ ปีถัดจากปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน) ในดินแดนชมพูทวีปซึ่ง ปัจจุบันได้แก่ ดินแดนประเทศอินเดียและเนปาล โดยเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม เทศนาแก่พวกปัญจวัคคีย์ ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหบูชา จากวันนั้นเป็นต้นมาพระพุทธองค์ก็ทรงเริ่ม เผยแพร่พระศาสนา ทำให้มีผู้เลื่อมใสศรัทธามานับถือศาสนามากมาย และยังมีผู้ออกบวชศึกษาพระธรรมมาก ขึ้นพร้อมยังออกเผยแพร่ศาสนาด้วย ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองและขยายไปยังดินแดนชมพูทวีปอย่าง รวดเร็ว เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดับขันปรินิพพาน ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓ พระเจ้าอโศก มหาราชผู้ปกครองประเทศอินเดียในสมัยนั้น มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากพระองค์ได้ให้ความ อุปถัมภ์โดยทรงจัดให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สามขึ้น แล้วยังส่งคณะทูต ๙ คณะเพื่อเดินทางไป เผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ คณะทูตคณะที่ ๘ ซึ่งมีพระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นหัวหน้า คณะ ได้ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ คือ ดินแดนแหลมทองซึ่งมีอาณาเขตครอบครุม พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งเมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศไทยก็ เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาเรื่อยๆ พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ก็ทรงเป็นพุทธมามกะทรงเลื่อมใสในพระพุทธ ศาสนาและได้ทำนุบำรุงเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือ วิชาที่ว่าด้วยเหตุและผล อะไรที่จะเป็นวิทยาศาสตร์ได้ต้องเป็นเหตุผล วิทยาศาสตร์จึงต้องมีการทดลองมากมายเพื่อทำการพิสูจน์หาเหตุผล ทดลองเพื่อที่จะได้ผลของการทดลอง เช่นเดียวกัน พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้ใช้เหตุผล พระพุทธศาสนามิได้สอนให้เชื่อในเรื่องของการงมงายต่างๆ แต่สอนให้ใช้ปัญญาพิจารณาตริตรองหาเหตุผลความเป็นจริง คำสอนของพระพุทธศาสนาจึงเป็นคำสอนที่มีเหตุผลเสมอ เช่น ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว กรรมใดใครก่อกรรมนั้นย่อมสนอง คบคนพาลพาลพาไปหาผิดคบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล
อีกนัยหนึ่งที่ว่าพระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ซึ่งปรากฏให้เห็นชัดในสมัยพุทธกาลตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อริยสัจ4 พระพุทธองค์ทรงมีวิธีคิดซึ่งวิธีคิดของพระองค์นั้นก็เป็นการคิดแบบวิทยาศาสตร์ คือ ทรงพิสูจน์ทดลอง วิธีคิดของพระพุทธเจ้าแบบนี้เรียกว่า วิธีคิดแบบอริยสัจ ซึ่งจะเปรียบเทียบกับวิธีคิดทางวิทยาศาสตร์ได้ดังนี้
๑.ขั้นกำหนดทุกข์ ให้รู้ว่าทุกข์หรือปัญหาคืออะไร อยู่ที่ไหน มีขอบเขตอย่างไร อันเป็นขั้นกำหนดปัญหา
๒.ขั้นถึงสมุทัย
หยั่งสาเหตุของทุกข์หรือปัญหานั้น อยู่ในขั้นกำหนดปัญหาเช่นกัน
๓.ขั้นเก็งนิโรธ
ให้เห็นกระบวนการที่แสดงว่าการดับทุกข์เป็นไปได้อย่างไร เป็นขั้นตั้งสมมุติฐาน
๔.ขั้นเฟ้นหามรรค
แยกออกเป็นสามขั้นคือ
มรรค1 เอสนา แสวงหาข้อพิสูจน์ ทอลอง เป็นขั้นทดลองและเก็บข้อมูล
มรรค2 วิมังสา ตรวจสอบ เลือกเก็บข้อมูลที่ถูกต้องใช้ได้จริง คือ ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
มรรค3 อนุโพธ คัดข้อที่ผิดออก เลือกไว้แต่มรรคแท้คือหนทางที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่ผลหรือแก้ปัญหาได้
คือ ขั้นสรุป
พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ได้ เพราะระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ต่างเพื่อค้นหาความจริงของธรรมชาติที่มีอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ดังที่พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุทธ์ ปยุตฺโต) ครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระเทพเวทีได้กล่าวไว้ว่า "...เจตคติของพุทธก็ตามของวิทยาศาสตร์ก็ตามมีความหมายที่ตรงกันก็คือการมองสิ่งทั้งหลายตามหลักการแพ่งเหตุและผล หรือท่าทีแห่งการมองสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัยในเวลาที่พบเห็นอะไรก็ตาม คนที่มีเจตคติหรือเจตคติพุทธก็จะมองตามเหตุปัจจัย พอมองแบบนี้ก็เท่ากับมองไปในแง่ของการค้นหาความจริง..." และไอน์สไตน์ก็ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจเช่นกันว่า
"สำนึกทางศาสนาที่หยั่งโยงสรรพสิ่งทั่วสากลนี้ เป็นแรงจูงใจที่แรงกล้าและประเสริฐที่สุดสำหรับการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์...พุทธศาสนา...มีสภาวะที่เรียกว่า cosmic religious feeling คือ ความรู้สึกหรือสำนึกทางศาสนาอันหยั่งโยงสรรพสิ่งทั่วสากลนี้อย่างเข้มข้นหรือแรงกล้ามาก..."


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น